ส่งออก “ท้าวเวสสุวรรณ” องค์เทพที่คนจีนนิยม
“ท้าวเวสสุวรรณ” หรืออีกชื่อว่า ท้าวกุเวร เป็น 1 ในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ที่คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ เป็นเป็นเจ้าแห่งอสูร ทั้งตามความเชื่อของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู รวมไปถึงชาวต่างชาติอย่างชาวจีน ก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีความเชื่อว่า หากได้บูชา จะมีโชคลาภ ร่ำรวย มีเงินใช้ตลอดปี โดยเฉพาะคนที่เกิดในปีชง ควรที่จะพกติดตัวไว้ เพื่อป้องกันภัยจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ให้ไม่กล้ามาทำอันตรายใดๆให้กับคนในครอบครัว
เคล็ดลับการบูชาท้าวเวสสุวรรณเพื่อความสำเร็จสมหวัง
จุดธูป 9 ดอก และถวายดอกกุหลาบ 9 ดอก ก่อนสวดให้ตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึงพระคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
(ตั้งนะโม 3 จบ)
“อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา
ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”
แต่ถ้าอยากส่งไปให้เพื่อนหรือญาติที่ประเทศจีน ต้องทราบ ข้อกำหนดการส่งวัตถุมงคลไปต่างประเทศ ด้วยนะครับ
- การส่งออกท้าวเวสสุวรรณ สำหรับตั้งโต๊ะหมู่บูชา ต้องยื่นเรื่องขอใบอนุญาต ให้กรมศิลปากรตรวจสอบ ทุกกรณี ว่าจำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตหรือไม่ โดยยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ National Single Window (NSW) ของกรมศิลปากร ที่ Link https://nsw.finearts.go.th หรือติดต่อสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-164-2512 เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการชี้แจงกับผู้ให้บริการขนส่ง
- การส่งออกพระพุทธรูป เช่น พระเครื่องแบบห้อยคอ (ไม่ใช่ท้าวเวสสุวรรณ) ต้องมีตราประทับปีพุทธศักราชบนพระเครื่อง เพราะหากมีอายุเกิน 5 ปี จะต้องใช้ใบอนุญาตในการส่งออก โดยยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ของกรมศิลปากร เช่นเดียวกันครับ
และหากได้รับใบอนุญาตส่งออกแล้ว ต้องเดินพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกให้เรียบร้อยด้วยครับ ซึ่งขั้นตอนของการยื่นขอใบอนุญาต ก็จะมีดังนี้
ขั้นตอนการขอใบอนุญาตส่งออก พระพุทธรูป โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ
1. เตรียมเอกสาร, หลักฐานและยื่นแบบคำขอ
ยื่นแบบคำขอ (ศก.6) และหลักฐานผ่านทางเว็บไซต์ https://nsw.finearts.go.th โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารของคุณ (ประมาณ 1 วัน)
ผู้ขออนุญาตต้องกรอกเเบบคำขอรับใบอนุญาต ตามเเบบ ศก.6 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน ดังนี้
- แบบคำอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร (แบบ ศก 6) (ฉบับจริง)
- รายการโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักร (ฉบับจริง)
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโบราณวัตถุฯ (สำเนา) 2 ชุด
- ภาพถ่ายโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่เป็นภาพสี ขนาด 9 x 12.5 เซนติเมตร (ฉบับจริง) 2 ชุด
กรณีบุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)
กรณีบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วน
- หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือของบริษัทนั้น (ฉบับจริง)
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน ของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการของบริษัททุกคน (ฉบับจริง)
- ทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการของบริษัททุกคน(ฉบับจริง)
2. ตรวจสอบวัตถุ
นำวัตถุนั้น มาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ตามสถานที่ ที่นัดหมาย โดยคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ และพิจารณาเพื่อการออกใบอนุญาต (ประมาณ 5 วัน)
3. รอมติจากคณะกรรมกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามในใบอนุญาต (ประมาณ 2 วัน)
4. ได้รับอนุมัติและชำระเงิน
เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถชำระค่าธรรมเนียมได้เลยครับ
หลังจากได้ใบอนุญาตส่งออกแล้ว ก็จะมีขั้นตอนเดินพิธีการศุลกากรขาออก ด้วยนะครับ หากต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือสงสัยตรงไหน ทีมงานพี่ซิตี้ลิงค์ มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมตอบทุกคำถามเลยครับ มือใหม่ก็ไม่ต้องกังวลเลย ติดต่อตามที่อยู่ด้านล่างได้เลย
Customer Service Tel. 02-671-8880
Line : @citylinkthailand
Inbox Facebook City-Link Express Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ขอบคุณรูปภาพจาก: วัดสุทัศนเทพวราราม