แนะนำวิธีส่งออกไปออสเตรเลีย ไม่ยากอย่างที่คิด
ประเทศออสเตรเลียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีประสิทธิภาพและโอกาสทางการค้าสำหรับสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และพืชผักผลไม้ ทั้งแบบสดและแบบแปรรูป เพราะประเทศออสเตรเลียแม้ว่าจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่เทียบเท่าทวีปแต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ประกอบกับจำนวนประชากรที่น้อยกว่าพื้นที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าต่างๆไม่พอเพียงกับการอุปโภคและบริโภคภายในประเทศ จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการส่งออกของ SME ไทย ที่สามารถเปิดตลาดสู่ภูมิภาคออสเตรเลียได้ไม่ยาก ซึ่งบทความนี้ จะขอแนะนำวิธีส่งออกไปออสเตรเลีย ฉบับรวบรัด ที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจถึงกระบวนการส่งออกไปออสเตรเลียได้อย่างทันที
สินค้าต้องห้ามนำเข้าประเทศออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลียนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เข้มงวด และจำกัดการนำเข้าสินค้าบางประเภทมาก เพื่อป้องกันโรคระบาดและอันตรายในขณะขนส่ง ซึ่งสิ่งของห้ามนำเข้าและสิ่งของที่ต้องสำแดงกับเจ้าหน้าที่มีดังนี้
- อาหารสด พืชและเนื้อสัตว์ โดยอาหารทุกประเภททั้งแบบสดและแบบแปรรูปทางรัฐบาลห้ามนำเข้าโดยการส่งพัสดุโดยเด็ดขาดซึ่งมีความเข้มงวดมาก โดยการส่งออกประเภท SME ไทยนั้นต้องทำเรื่องสำแดงสินค้าและขอใบอนุญาตนำเข้าให้ถูกกฎหมายจึงจะขนส่งสินค้าได้
- ยาเสพติด แน่นอนว่า ยาเสพติดเป็นสิ่งค้าต้องห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้รวมถึงยาบางประเภท เช่น สเตอรอยด์ ยาฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะบางตัว ห้ามส่งเป็นสินค้าพัสดุทางไปรษณีย์เพราะเป็นสินค้าต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ให้พิจารณาทุกครั้ง
- สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ปืน หนังสติ๊ก ธนู กระสุน ไฟฉายเลเซอร์ สนับมือ ท่อเป่าลูกดอก ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดและไม่สามารถทำเรื่องขออนุญาตได้
- ดิน โคลน ทราย ต้นไม้หรือพืชที่มีเศษดินหรือทรายติดมาด้วย ห้ามนำเข้าและขนส่งโดยไปรษณีย์เพราะอาจเป็นการพาเชื้อโรคเข้ามาในออสเตรเลียได้ทั้งสิ้น
- สินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ ห้ามนำเข้าประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีความผิดร้ายแรง สามารถถูกจับลงโทษได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา
อัตราภาษีประเทศออสเตรเลียที่ควรรู้
สำหรับการส่งของหรือสินค้าเพื่อมอบแก่บุคคลธรรมดา เช่น ส่งให้เพื่อน ส่งให้ญาติ และของมีมูลค่าต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 25,000 บาท ท่านไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าของที่ได้รับการยกเว้นที่สูงมากหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้สำหรับการส่งสินค้าไปขายยังประเทศออสเตรเลียก็พบว่ามีมาตรฐานภาษีที่เสียต่ำกว่าประเทศอื่นอย่างมาก โดยเสียภาษีที่ 0%-10 % หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6% เท่านั้น ซึ่งสินค้าบางประเภทจำพวกเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย
ดังนั้น หากพูดถึงในแง่ภาษีที่ต้องจ่ายสำหรับการทำธุรกิจการค้ากับประเทศออสเตรเลียแล้วถือว่าได้เปรียบทางภาษีเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการทำให้สร้างกำไรมากขึ้นได้อย่างดีทีเดียว
วิธีการส่งออกสินค้าไปประเทศออสเตรเลีย
สำหรับการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศออสเตรเลีย มี 2 ทางเลือกด้วยกัน คือ การขนส่งทางอากาศและการขนส่งทางเรือ โดยมีความแตกต่างกันและข้อดีข้อเสีย ดังนี้
1.การขนส่งทางอากาศไปประเทศออสเตรเลีย
สำหรับการขนส่งทางอากาศไปประเทศออสเตรเลียนั้น เหมาะสำหรับสินค้าประเภทเอกสาร หรือของฝาก ของชำร่วย ที่ไม่ได้ส่งเพื่อจุดประสงค์ทางพาณิชย์ ซึ่งช่องทางนี้ สามารถส่งผ่าน City-link express ได้เลยครับ เราเป็นบริษัทขนส่งมาตรฐานระดับ Global ที่มีสำนักงานตั้งอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก และมีมากกว่า 855 สาขา ทั่วเอเชีย ท่านจึงสามารถมั่นใจได้ถึงคุณภาพการให้บริการ และระยะเวลาการส่งมอบที่สามารถกำหนดและติดตามได้ตลอดเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีความสะดวกสบายโดยสามารถรับและส่งสินค้าได้แบบ Door to Door ด้วยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์และจ่ายเงินโดยผ่านบัตรเครดิต ซึ่ง City-link express จะทำให้หน้าที่ดำเนินเอกสารผ่านด่านศุลกากรและเสียภาษีให้โดยอัตโนมัติสำหรับสินค้าที่พึงสำแดงและมีมูลค่าเกินกว่า 25,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างสูง แต่ท่านจะสามารถใช้บริการ City-link express ได้อย่างสบายใจ เพราะเราเป็นพันธมิตรกับบริษัทขนส่งชั้นนำทั่วโลก จึงสามารถนำเสนอราคาพิเศษที่สุดให้กับลูกค้าคนสำคัญ ให้ท่านสามารถขนส่งอย่างรวดเร็วและสบายใจในราคาที่ต้องจ่ายไปอย่างแน่นอน
2.การขนส่งทางเรือไปยังประเทศออสเตรเลีย
และนอกจากการขนส่งทางอากาศแล้ว การขนส่งทางเรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ยอดนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยระยะทางที่ไกลข้ามทวีป การขนส่งทางเรือจึงมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดที่สุด เหมาะสำหรับขนส่งสินค้าล็อตใหญ่ ที่มีน้ำหนัก หรือแม้แต่การขนส่งของใช้หรือเสื้อผ้าเพื่อไปเรียนหรือทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ข้อเสียคือใช้เวลานานมาก ซึ่งมีตัวเลือกการขนส่งถึงมือผู้รับปลายทางหลายแบบเช่น Door to Door, Door to Port, Port To Port, การขนส่งเต็มตู้คอนเทนเนอร์ หรือ Half container เป็นต้น